Tags
เมื่อหลายคนรับรู้ว่า การทำแบรนด์มี ตัวประกันที่สำคัญอย่างนึงคือ การสร้างเรื่องราวของแบรนด์
(Brand Story) ซึ่งเป็นการที่เจ้าของแบรนด์ต้องเล่าเรื่องราวของตัวเองให้เป็น
ฟังดูง่ายแต่โคตรยาก เพราะอยู่ดีๆ เหมือนเอาคนไม่เคยทำกับข้าวแล้วให้ไปเข้าครัว
ก็คงได้กับข้าวที่รสชาด ตลกๆ ฉันใดก้ฉันนั้น (ไอ้คนมีพรสวรรค์ก็รอดไป)
การฝึกเล่าเรื่องของตัวเองก็ควร จะต้องหาวิธีการและเทคนิคที่จะทำให้เราทำให้มันออกมาน่าสนใจ
ซึ่งมีเทคนิคที่เหล่าบรรดา Copy Writer และ Screen writer หรือพวกเขียนคำ เขียนบทต้องใช้กัน
ก็คือ เทคนิคที่เรียกว่า Fictional truth หรือความจริงในนิยาย
Fictional truth ที่ว่า เป็นเทคนิคการเขียนทั้งเชิง เอานิยายมาเขียนให้ดูสมจริง สมจัง เหมือนกับที่ทุกวันนี้
เราอ่าน Harry potter กันเป็นตุเป็นตะ ทั้งๆที่เราก็รู้ว่ามันเป็นเรื่องสมมุติแต่ก็สามารถสร้างให้ดูมีความจริงจังในนิยาย
หรืออย่างเรื่อง Davinci Code เป็นต้น
ใน Speech หรือใน Story ของแบรนด์ดังระดับโลกล้วนแต่มีการถูกเรียบเรียงใหม่ โดยใช้หลัก
Fictional truth เพื่อให้ความจริงเหล่านั้นดูน่าสนใจ สนุก แต่อยู่บนพื้นฐานความจริง
อันนี้ก็จะอยู่คนละด้านกะการเขียนที่ใช้นิยายเป็นฐานตั้งต้น
นอกเหนือไปจากวิธีนี้ โครงสร้างหรือtimeline ในการเล่าเรื่อง ก็จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง
ต่อการสร้างอารมณ์ร่วมของผู้อ่าน การเขียนของหลายๆแบรนด์จึงแทบจะมีโครงสร้างคล้ายๆกัน
โดยเฉพาะแบรนด์ที่มีบุคลิกแบบ Hero ก็คือ การให้เจ้าของแบรนด์นั้น มีอุปสรรคเป็นเหมือนกับ
คู่แข่งขัน และจากวันที่ยังไม่ชนะ เจ้าของแบรนด์จะต้องใช้แรงกายแรงใจอย่างหนัก แต่ก็ยังแพ้อยู่ดี
จนกระทั่งพบจุดเปลี่ยนบางอย่าง เจ้าของแบรนด์จึงสามารถเพิ่มขีดความสามารถ เอาชนะอุปสรรค
และกลายเป็นผู้ชนะ
ดังนั้น การจะสร้างแบรนด์ให้สำเร็จได้ ก็อย่าลืมการเขียน Brand story ให้ดีๆนะครับ